top of page

Starsburge St. Denis - Roy Hargrove

     บทเพลงนี้ อยู่ในอัลบบั้มของรอยน์ที่ชื่อว่า เอียฟูด (Earfood) ออกจําหน่ายในปี2008 เป็ นบทเพลงที่รอยน์ประพันธ์จากความฝันของเขาซึ่งเกิดขึ้นในกลางดึกคืนหนึ่ง ที่โรงแรมระดับ 1 ดาวครึ่ง ณ กรุงปารีส ตอนนนั้นเป็นช่วงที่เขาเดินทางแสดงทัวร์ไปกับ เฮอร์บี แฮนคอก และไมเคิล เบรกเกอร์ (Michael Brecker) บทเพลงนี้ถูกจดจําและกล่าวขานมากที่สุดในอัลบั้มนี้และเปรียบเสมือนบทเพลงประจําตัวของเขา “ทุกคน ชอบเพลงนี้และผมเองก็ชอบเช่นกัน” รอยน์กล่าว  

       ในบทความวิชาการนี้จะวิเคราะห์บทเพลงสตราสเบิร์ก เซนต์เดนนิส จากอัลบั้ม รอยน์ฮาร์ กรูฟ ควินเท็ท ไลฟ์แอท เดอะ นิว มอนิง (Roy Hargrove Quintet Live at The New Morning)วางจําหน่ายปี ค.ศ. 2010 โดย ยูนิเวอร์ แซลอิมพอร์ต (Universal Import) นักดนตรีที่ร่วมบรรเลงในอัลบั้มนี้ประกอบไปด้วย 1) จัสติน โรบินสัน (แซกโซนโฟน) 2) เจอราดน์เคลตัน (เปี ยโน) 3) แดนทัลโบเลอร์ (เบส) และ 4) มอลเตส โคลแมน (กลอง)และโน้ตที่ใช้สําหรับการวิเคราะห์ทั้งหมดเป็นโน้ตที่ใช้สําหรับทรัมเป็ต บี แฟลต (Trumpet in Bb) ซึ่งผู้ศึกษาเป็นผู้ถอดโน้ตเองโดยอยู่ภายใต้การตรวจสอบของผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เด่น อยู่ประเสิรฐ นั่นเอง

     หัวใจของดนตรีแจ๊สคือการอิมโพรไวส์ มีนักการศึกษาท่านหนึ่งได้ให้ความหมายของการอิมโพรไวส์ว่าเป็นการเชื่อมโยงของความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นในเวลานนั้นๆ แลว้ถูกกลั่นกรองออกมาจากการ ผสมผสานของทฤษฎีดนตรีและการปฏิบัติดนตรีซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะโดยธรรมชาติของการอิมโพรไวส์นั้น นักดนตรีแจ๊สจะใช้เวลากับการสร้างสรรค์แนวคิดการบรรเลงใหม่อยู่เสมอ แล้วนำแนวคิดใหม่เหล่านั้นไปแสดงให้แก่นักดนตรีแจ๊สและผูฟัง โดยแนวคิดใหม่ที่กล่าวถึงนี้ต้องอยู่เหนือสัญชาตญาณและ เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครทาํมาก่อนนั่นเอง

     การศึกษาวิเคราะห์การอิมโพรไวส์เป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยพัฒนาการอิมโพรไวส์ให้กับนักดนตรีแจ๊ส เพราะโดยส่วนมากดนตรีแจ๊สจะพัฒนาได้ด้วยการฟัง วิเคราะห์ และนำมาทดลอง ดังนั้น หากปฏิบัติ ทุกๆเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีการพฒันาอย่างรวดเร็วและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ดัง เช่น มายส์เดวิส (Miles Davis)และจอห์น โคลเทรน (John Coltrane) 2 ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างสรรค์แนวคิดทฤษฎีใหม่ใหกับดนตรีแจ๊ส และเป็นผู้ที่สร้างแรงบนันดาลใจใหกับนักดนตรีแจ๊สจนถึงยุคปัจจุบัน

บทเพลง Starsbourge St.Denis ส่วนหัว

      บทเพลงสตราสเบิร์ก เซนต์เดนนิสส่วนหัว ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างของการประพันธ์โดยอธิบายแบ่งออกเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้ 

     1. ความยาวของบทเพลงมีจํานวน 16 ห้องแบ่งเป็นท่อน A และท่อน B ตามลําดับ แต่เมื่อย้อนกลับมาเล่นในส่วนหัวอีกครั้งหลังจากที่ทําการอิมโพรไวส์แล้วจะเล่นเฉพาะท่อน A เท่านั้น 

     2. บทเพลงนี้ประพันธ์ในกุญแจเสียง Db เมเจอร์แต่เนื่องจากในบทความนี้ ยกตัวอย่างโดยการใช้โน้ตสําหรับทรัมเป็ต จึงมีกุญแจเสียง Eb เมเจอร์

     3. ทํานองมีลักษณะถามตอบ (Call & Respond) ตามตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่างประโยค ถาม ตอบ

สรุปการวิเคราะห์

 

    จากการวิเคราะห์การอิมโพรไวส์ของรอยน์ฮาร์กรูฟ ในบทเพลงสตราสเบิร์กเซนต์เดนนิส พบว่ามีการ อิมโพรไวส์ใน 4 เรื่องดังกล่าวปรากฎอยู่ในบทเพลงอย่างครบถ้วน อธิบายโดยเรียงลําดับได้ดังนี้

      1. เรื่องหน่วยย่อยทํานอง ได้มีการอิมโพรไวส์โดยใช้แนวคิดการสร้างหน่วยย่อยทํานองและการ พัฒนาหน่วยย่อยทํานองอย่างชัดเจนจํานวน 2แห่ง

      2. เรื่องบันไดเสียง พบว่ามีการใช้บันไดเสียงที่นอกเหนือจากกุญแจหลักถึง 3 บันไดเสียงคือ

บันไดเสียงเพนตาโทนิก บันไดเสียงบีบอบ และบันไดเสียงบูลส์ 

      3 เรื่องจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง คือการซ้ำรูปแบบจังหวะการใช้โน้ต 3 พยางค์และการใช้ความหลากหลายและความหนาแน่นของจังหวะ

      4. เรื่องความสามารถพิเศษในการบรรเลงเครื่องดนตรีพบว่ารอยน์ฮาร์กรูฟ สามารถเล่นโน้ตเสียง สูงของทรัมเปตได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะโน้ตเสียงฟา บนเส้นน้อยที่ 3 และโน้ตเสียงซอลบนเส้นน้อยที่ 4 ถือเป็นเทคนิคที่ยากมากของทรัมเป็ ต ทําให้การอิมโพรไวส์ของเขาสร้างความประทับใจแก่ผู้ฟังได้อย่างมาก

แหล่งอ้างอิง (reference):

http://www.jazzreview.com

file:///C:/Users/DELL/Downloads/StDennis_RoyHargrove_Analysis%20(1).pdf

© 2023 by Name of Site. Proudly created with Wix.com

bottom of page